วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

อุทยานแห่งชาติภูพาน จังหวัดสกลนคร


อุทยานแห่งชาติภูพาน, สกลนคร

อุทยานแห่งชาติภูพาน
มีพื้นที่ครอบคลุมอำเภอเมือง อำเภอพรรณานิคม กิ่งอำเภอภูพานจังหวัดสกลนคร และอำเภอสมเด็จอำเภอห้วยผึ้ง อำเภอกุดบาก จังหวัดกาฬสินธุ์ มีเนื้อที่ประมาณ 655 ตร.กม. หรือ 415,439 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานฯ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2525 ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพานตามเส้นทางสายสกลนคร-กาฬสินธุ์ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 25 กม. มีสถานที่น่าสนใจได้แก่
น้ำตกคำหอม และ โค้งปิ้งงู
อยู่ห่างจากจังหวัดประมาณ 14 กม. บริเวณใกล้เคียงกันจะเป็นที่ตั้งของน้ำตกต่าง ๆ อีกหลายแห่ง เช่น น้ำตกเหวสินธุ์ชัย น้ำตกตาดโตน น้ำตกสามหลั่น น้ำตกสาวไห้ ผาหินซ้อน อยู่ท่ามกลางป่าไม้ที่ร่มเย็น และหน้าทางเข้าน้ำตกคำหอม บนถนนสายสกลนคร - กาฬสินธุ์ เป็นช่วงที่คดเคี้ยวไปมาเหมือนกับงูเลื้อย ริมทางตกแต่งด้วยไม้ดอก ไม้ประดับเป็นทัศนียภาพที่สวยงาม การคมนาคม เข้าแหล่งท่องเที่ยวเหล่านี้สะดวก และปลอดภัย สามารถเดินทางเข้าถึงตลอดทั้งปี สำหรับน้ำตกต่าง ๆ จะมีน้ำเฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น
-----------------------------------------------
ผานางเมิน และลานสาวเอ้
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 700 เมตร และ 2 กม. ตามลำดับตามทางเดินเท้าจาก ที่ทำการ สองข้างทางจะเป็นป่าพรวงไปตลอดถึงริมหน้าผา ซึ่งเป็นลาดหินทอดยาวหันหน้าไปทางทิศตะวันตกมองเห็นธรรมชาติเบื้องล่างได้อย่างชัดเจนสวยงาม ส่วนด้านล่างหน้าผามีทางเดินไปลานสาวเอ้ ซึ่งเป็นลานหินธรรมชาติที่สวยงาม อยู่ท่ามกลางป่าเขาและบริเวณหน้าผาสูงชันในเดือนสิงหาคม - ตุลาคม และจะได้พบเห็นดอกไม้ขึ้นสลับสี เป็นทุ่งกว้าง เหมาะสำหรับพักผ่อน ถ่ายภาพ และชมธรรมชาติ

-----------------------------------------------
น้ำตกห้วยใหญ่
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 12 กม. ลักษณะเป็นลำน้ำที่ยุบตัวลงลดหลั่นเป็นชั้นๆ รายล้อมด้วยสภาพป่าเขาทึบที่ร่มเย็น
-----------------------------------------------
ถ้ำเสรีไทย
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 4.5 กม. เป็นถ้ำที่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายเสรีไทย ได้ใช้เป็นที่สะสมอาวุธและเสบียง เพราะเป็นทำเลที่เหมาะสม ปกปิดด้วยป่าไม้ที่เขียวชะอุ่ม และบริเวณเดียวกันมีร่องรอยการขุดแต่งเพื่อเป็นสนามบินลับด้วย
-----------------------------------------------
น้ำตกปรีชาสุขสันต์
ตั้งอยู่ในเทือกเขาภูพาน เขตอำเภอเมือง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 24 กม. ตามเส้นทาง สายสกลนคร - อุดรธานี ลักษณะน้ำตกเป็นลานหินลาดเขา คล้ายสไลเดอร์ มีความยาว 12 เมตร เป็นช่วงยาวลดหลั่นเป็นชั้น อยู่ท่ามกลางสภาพป่าไม้ที่สมบูรณ์ สามารถลงเล่นน้ำได้อย่างปลอดภัย น้ำจะมีมากในฤดูฝน การคมนาคมสะดวก สามารถเข้าถึงตัวน้ำน้ำตกได้ตลอดปี
-----------------------------------------------
นักท่องเที่ยวสามารถตั้งเต้นท์พักแรมบริเวณที่ทำการอุทยานฯได้ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติภูพาน อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร


 ที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูพาน




นักท่องเที่ยวสามารถตั้งเต้นท์พักแรมบริเวณที่ทำการอุทยานฯ




อุทยานแห่งชาติภูพาน





อุทยานแห่งชาติภูพาน


อุทยานแห่งชาติภูพาน

เที่ยวอุทยานบัวที่ใหญ่ที่สุดในไทย ณ จังหวัดสกลนคร



 อุทยานบัว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร เปิดให้นักท่องเที่ยวชม อุทยานบัวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่มีสายพันธ์บัวกว่า 100 สายพันธุ์ อย่างคึกคัก

             อุทยานบัว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ตั้งอยู่ริมฝั่งหนองหารน้อย ซึ่งตรงกันข้ามกับฝั่งหนองหาร ห่างจากพื้นที่ตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ตำบลเชียงเครือ ประมาณ 5 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมดกว่า 50 ไร่ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2553 เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมบัวพันธุ์ต่าง ๆ มากกว่า 100 สายพันธุ์ และรองรับการประชุมวิชาการบัวนานาชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2553 ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่ศึกษาและค้นคว้าของนิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป รวมทั้งยังเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของ จังหวัดสกลนคร








 ภายใน "อุทยานบัว" แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

            ส่วนรวบรวมพันธุ์บัว เป็น การรวบรวมพันธุ์บัวทั้งในและต่างประเทศ ทั้งหมด 34 สายพันธุ์ เช่น บัวกระด้ง, บัวสาย, บัวผัน-เผื่อน และบัวฝรั่ง รวบรวมไว้ในรูปแบบสระบัวบนพื้นที่ 10 ไร่ โดยมีทางเดินที่สามารถเดินลงไปชมบัวได้อย่างใกล้ชิด

            ส่วนแสดงพันธุ์บัว โดยนำบัวพันธุ์จำนวน 74 สายพันธุ์มาจัดโชว์บนกระถาง เพื่อให้ผู้สนใจได้ใกล้ชิดกับบัวมากขึ้น

            ส่วนนิทรรศการ ได้จัดแสดงไว้ในชั้นล่างของอาคารวิจัยและพัฒนา ซึ่งเป็นนิทรรศการความรู้และความเป็นมาของบัวพันธุ์ต่าง ๆ เหมาะแก่การศึกษาค้นคว้าได้เป็นอย่าง ภายในห้องนิทรรศการประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับบัวต่าง ๆ ดังนี้...

            1. การจำแนกพันธุ์บัว

            2. ประวัติบัวในไทย

            3. การปลูกบัว

            4. การดูแลรักษา

            5. โรคและศัตรูที่สำคัญ

            6. การปรับปรุงพันธุ์

            7. การทำนาบัว

            8. ประโยชน์จากบัว


   เวลาเปิด-ปิด : วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30–16.30 น., วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 08.30-18.00 น. (ยกเว้นห้องนิทรรศการบัว ปิดวันหยุดราชการและนักขัตฤกษ์)


    ที่ตั้ง : อุทยาน หนองหารเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร เลขที่ 59 หมู่ 1 ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 
  
  โทรศัพท์ : 0 4272 5000 โทรสาร : 0 4272 5013

     เว็บไซต์ : elearning.stkc.go.th

ปราสาทนารายณ์เจงเวง





พระธาตุนารายณ์เจงเวง

- พระธาตุนารายณ์เจงเวง ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร อยู่ห่างจากตัวเมือง ประมาณ ๖ กิโลเมตร
-พระธาตุองค์นี้เป็นพระธาตุเก่าแก่ สมัยเดียวกันกับพระธาตุเชิงชุม แต่ศิลปการก่อสร้างผิดไปคนละแบบ พระธาตุองค์นี้สร้างด้วยศิลาแลง แบบเดียวกับปราสาทหินพิมาย แต่มีขนาดเล็กกว่า เป็นปรางค์แบบขอม องค์พระธาตุแบ่งเป็นหลายส่วน คือ ส่วนที่เป็นฐาน ส่วนที่เป็นองค์หลังคาและส่วนยอด ส่วนที่เป็นฐานก่อด้วยศิลาแลงก้อนขนาดใหญ่ มีเอวคอดกิ่วเหมือนพานดอกไม้ สูง ๑๘ เมตร กว้างด้านละ ๑๕ เมตร
- องค์เจดีย์เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม ส่วนที่เป็นหลังคาและยอด ปัจจุบันหักพังหมดแล้ว ยังคงเหลือแต่องค์พระธาตุ ซึ่งมีประตูและซุ้มประตูด้านละประตู ด้านทิศเหนือและด้านทิศตะวันออก ยังพอเห็นความวิจิตรงดงามอยู่พอสมควร ด้านทิศตะวันออกต่อจากประตูออกมาก่อเป็นคูหา ยื่นมาข้างนอก ๓ เมตร มีบันได ๗ ขั้น ก่อนถึงองค์พระธาตุ วงกบประตูสลักอย่างดี มีร่องรอยบัวแบบประตูโบราณ ทำด้วยศิลาแท่งใหญ่ บนซุ้มประตูสลักลวดลายงดงาม ด้านทิศเหนือเป็นประตูเช่นเดียวกับด้านอื่น ๆ แต่ซากที่เหลืออยู่เด่นกว่า ประตูด้านอื่น ภายใต้ซุ้มข้างบน สลักรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ประดับด้วยกนกก้านขดอ่อนช้อยงดงาม ส่วนตรงมุมทั้งสี่ด้านขององค์พระธาตุ เป็นรูปนาคห้าเศียร ทำได้ดีราวกับมีชีวิตจริง
- ตามตำนานกล่าวว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระเจ้าสุวรรณภิงคาระได้ทราบข่าวว่า พระมหากัสสปะเถระ พร้อมด้วยพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ จะนำพระอุรังคธาตุไปบรรจุไว้ที่ภูกำพร้า ที่ประดิษฐานพระธาตุพนม และจะต้องเสด็จย่านสกลนคร ก็มีความศรัทธา ได้ประชุมอำมาตย์ผู้ใหญ่ สร้างพระเจดีย์ไว้สององค์ ไว้คอยรับเสด็จ เพื่อขอส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานไว้ เจดีย์องค์หนึ่งสร้างไว้ที่พระราชอุทยานหลวง อยู่บนเนินสูงด้านทิศตะวันตก ห่างจากพระราชวังสามพันวา โดยให้พระนางเจงเวงเป็นเจ้าศรัทธาสร้าง อีกองค์หนึ่งให้อำมาตย์ผู้ใหญ่ฝ่ายชายเป็นผู้สร้าง
- ทำนองสร้างแข่งขันกันให้สร้างเสร็จในคืนเดียว โดยถือเกณฑ์เมื่อดาวประกายพรึกโผล่พ้นขอบฟ้าเป็นเวลาสิ้นสุดการก่อสร้าง เมื่อตกกลางคืนฝ่ายหญิงก็เอาโคมไปแขวนไว้บนไม้สูง ให้ฝ่ายชายเข้าใจว่าดาวประกายพรึกขึ้นแล้ว ก็เสียกำลังใจยังสร้างไม่เสร็จ ต้องยอมแพ้ไป ส่วนฝ่ายหญิงทำเสร็จเพราะทำได้เต็มเวลาและยังมีฝ่ายชายซี่งระส่ำระสายมาช่วยสร้างด้วยเป็นจำนวนมาก เมื่อพระมหากัสสปะ พร้อมทั้งพระอรหันต์ ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุผ่านมาถึงสกลนคร พระเจ้าสุวรรณภิงคาระได้ขอ แบ่งส่วนพระบรมสารีริกธาตุ แต่พระมหากัสสปะได้ชี้แจงว่า พระพุทธเจ้ามีพระพุทธประสงค์ให้นำไปประดิษฐานที่ภูกำพร้า แต่เพื่อมิให้เสียศรัทธา พระมหากัสสปะจึงให้พระอรหันต์องค์หนึ่งกลับไปนำ พระอังคารที่เหลือจากการถวายพระเพลิงที่เมืองกุสินารายณ์ มาประดิษฐานที่พระธาตุเจดีย์นารายณ์เจงเวงแทน

พระธาตุภูเพ็ก


พระธาตุภูเพ็ก






ตั้งอยู่ที่ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม  ผู้ที่จะไปนมัสการพระธาตุต้องเดินขึ้นบันไดประมาณ 491 ขั้น จะถึงองค์พระธาตุซึ่งสร้างอยู่บนยอดเขาภูพาน องค์พระธาตุสร้างด้วยหินทรายบนฐานศิลาแลง มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม ด้านหน้าเชื่อมต่อกับมณฑป รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ชั้นที่ 1 สูงประมาณ 1.58 เมตร ชั้นที่ 2 สูงประมาณ 0.70 เมตร ตัวปราสาทสูง 7.67 เมตร  ซึ่งยังสร้างไม่แล้วเสร็จ  ไม่มีหลังคา และยอดปราสาท  เพียงแต่ทำขื่อตั้งไว้เท่านั้น พระธาตุภูเพ็กสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 เพื่อเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ภายหลังดัดแปลงเป็นพุทธศาสนสถานและมีการยกเรื่องประวัติศาสตร์ การก่อสร้างไว้ในตำนานพระอุรังคธาตุ หรือตำนานพระธาตุพนม ซึ่งกล่าวไว้ว่า พระธาตุภูเพ็กสร้างโดยกลุ่มผู้ชายเพื่อแข่งขันกับกลุ่มผู้หญิงซึ่งสร้างพระธาตุนารายณ์เจงเวงเพื่อรอบรรจุพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้า แต่กลุ่มผู้ชายได้ยุติการสร้างเมื่อเห็นดาวเพ็กบนท้องฟ้า ซึ่งเป็นกลลวงของกลุ่มผู้หญิงผู้สร้างพระธาตุนารายณ์เจงเวง ปราสาทหลังนี้จึงได้ชื่อว่า ปราสาทพระธาตุภูเพ็ก ตามชื่อดาว เพ็ก
นักพิภพวิทยาท่านหนึ่ง คือ คุณสรรค์สนธิ บุณโยทยาน สนใจศึกษาการใช้แท่งหินนี้ และนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาประมวลผลด้านดาราศาสตร์ พบว่าเมื่อใส่ข้อมูลพิกัดตำแหน่งของปราสาท เส้นรุ้งที่ 17 องศาเหนือและใส่วันที่ปรากฏการณ์สำคัญต่างๆ จะได้มุมกวาดเป็น 65, 90 และ 115 องศา ซึ่งเป็นตำแหน่งดวงอาทิตย์ขึ้น หมุนเวียน โดยในวันเริ่มต้นของปี  จะเป็นวันที่เวลากลางวันเท่ากับเวลากลางคืน ดวงอาทิตย์ทำมุมฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลก ตรงกับวันที่ 21 มีนาคม เป็นฤดูใบไม้ผลิ หลังจากนั้นดวงอาทิตย์จะค่อยๆ เคลื่อนไปทางทิศเหนือ จนถึงจุดที่ไกลที่สุด ซึ่งจะเป็นวันที่กลางวันยาวที่สุด ตรงกับวันที่ 21 มิถุนายน จัดว่าเป็นฤดูร้อน จ.สกลนคร อยู่เส้นรุ้ง 17 องศาเหนือ กลางวันจะมี 13 ชั่วโมง ขณะเดียวกันเมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนมาถึงจุดที่ไกลที่สุดทางทิศใต้ ช่วงกลางวันจะสั้นที่สุดในรอบปี ตรงกับวันที่ 21 ธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว จ.สกลนครจะมีกลางวัน 11 ชั่วโมง
     ได้มีการทดสอบแนวแสงอาทิตย์ด้วยลูกดิ่งหลายครั้ง พบว่า แนวแสงจะพาดผ่านช่องสี่เหลี่ยมช่องใดช่องหนึ่งพอดี เมื่อตรงกับวันที่ ดังกล่าวข้างต้น เพราะฉะนั้นตำแหน่งที่ใช้ก่อสร้างปราสาทขอม ซึ่งรวมถึงปราสาทภูเพ็ก จึงต้องเป็นบริเวณที่โล่งแจ้ง ไม่มีสิ่งรกร้างที่จะกั้นแสงอาทิตย์ได้ การสร้างปราสาทหินภูเพ็กนี้สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในยุคสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ประมาณปี พ.ศ. 1742 สร้างจากก้อนหินทรายทรงสี่เหลี่ยม วางทำมุมฉาก ตามแนวทิศตะวันออก-ตก มีศิวลึงค์อยู่ด้านตะวันออก โดยมีด้านเปิดให้แสงอาทิตย์เข้าไปเพียงด้านเดียว ให้แสงสาดตรงที่ ณ ตำแหน่งของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในปราสาท ซึ่งแสดงถึง



เทศกาลแห่ดาวคริสมาสชุมชนท่าแร่



ประวัติการแห่ดาว

               ใกล้ถึงวันสมโภชพระคริสตสมภพ หรือ วันคริสต์มาสของทุกปี เราจะเห็นห้างสรรพสินค้าและร้านรวงต่างๆ ประดับตกแต่ง ต้นคริสต์มาสด้วยไฟหลากสีระยิบระยับ มีภาพชายแก่หนวดเครายาวสีขาวพุงพุ้ยในชุดสีแดงสดใสพร้อมถุงของขวัญบนล้อเลื่อน มีกวางลากจูง คลอด้วยบทเพลงคริสต์มาสในจังหวะสนุกๆ เพื่อดึงดูดผู้คนที่ผ่านไปมาให้หันมาสนใจและจับจ่ายเลือกซื้อสินค้าในร้านรวงของตน   บรรยากาศเช่นนี้มีให้เห็นทั่วไปตามเมืองใหญ่ทั่วโลกไม่เว้นแม้แต่ในประเทศไทย   แต่ในอีกมุมหนึ่งของหมู่บ้านคริสตชนในภาคอีสานของ ประเทศไทย ดูจะต่างออกไป โดยเฉพาะในอัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัดคือสกลนคร นครพนม  กาฬสินธุ์และมุกดาหาร จะมีบรรยากาศของความสมัครสมานกลมเกลียวแบบพี่น้อง ที่ร่วมแรงร่วมใจกันเตรียมฉลองคริสต์มาส  ด้วยการทำดาวและถ้ำพระกุมาร ช่วยกันประดับตกแต่งวัดประจำหมู่บ้านให้สวยงาม รวมถึงบ้านเรือนของตน เพื่อเฉลิมฉลองการประสูติมาของพระเยซูเจ้า   พวกเขาได้สานต่อความเชื่อศรัทธานี้ มามากกว่า 100 ปี จนกลายเป็นประเพณีในคืนวันที่ 24 ธันวาคม ของทุกปี
                       
ความหมายและที่มาของการแห่ดาว
               คำว่า ดาวพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2545 ได้ให้ความจำกัดความเอาไว้ว่า สิ่งที่เห็นเป็นดวงมีแสงระยิบระยับในท้องฟ้าเวลามืดนอกจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์”  นอกนั้นยังเป็นคำที่ใช้เรียกบุคคลที่เด่นดังในทางใด ทางหนึ่ง ดาวจึงหมายถึง ดวงไฟที่ส่องแสงระยิบระยับบนท้องฟ้าในเวลากลางคืนทำให้ท้องฟ้าแลดูสว่างสุกใส ด้วยเหตุนี้จึงอุปมาคนที่มีชื่อเสียงดี หรือมีหน้าตาสะสวยและความสามารถโดดเด่น เป็นเหมือนดาวบนฟ้าที่ส่องประกายเจิดจ้ายามค่ำคืน อย่างนักแสดงที่เรียกว่า ดาราสำหรับชาวตะวันออกเชื่อกันว่าทุกคนเกิดมามีดาวประจำตัว   โดยเฉพาะบุคคลสำคัญที่มีบุญบารมี ดาวประจำตัวจะสว่างสุกใสกว่าปกติสังเกตเห็นได้ง่าย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเวลาที่พระเยซูเจ้าประสูติ   จะปรากฏดาวประจำพระองค์ให้พวกโหราจารย์หรือนักปราชญ์จากทิศตะวันออกได้เห็น พวกเขาได้ออกเดินทางตามดาวดวงนั้นไป เพื่อไหว้นมัสการและถวายของขวัญตามที่มีบันทึกไว้ในพระคัมภีร์ (มธ 2:1-12) ดังนั้น ดาวในคริสตศาสนาจึงเป็นสัญลักษณ์หมายถึง การบังเกิดมาของพระเยซูเจ้าและเป็นสื่อนำทางพวกโหราจารย์ให้ได้พบกับพระกุมารเยซูในถ้ำเลี้ยงสัตว์ที่เมืองเบธเลเฮม ประเทศปาเลสไตน์ ส่วนประเพณีแห่ดาวในเทศกาลคริสต์มาส มีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด  แต่เข้าใจว่าคงมีมาตั้งแต่แรกเริ่มที่คริสตศาสนาเข้ามาในภาคอีสานในปี ค.ศ. 1881 ( พ.ศ. 2424) โดยการนำของคุณพ่อยอห์น บัปติสต์ โปรดม (Jean PRODHOMME) และคุณพ่อซาเวียร์ เกโก(Xavier GEGO) ธรรมทูตรุ่นบุกเบิกคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส (MEP) ที่สอนให้คริสตชนทำดาวประดับวัดในเทศกาลคริสต์มาส ประกอบกับธรรมชาติของคนอีสานที่ร่าเริงสนุกสนานมีงานประเพณีแห่แหนตลอดทั้งปี
                        การประยุกต์ประเพณีทำดาวประดับวัดในเทศกาลคริสต์มาส มาเป็นประเพณีแห่ดาวรอบวัดหรือชุมชน จึงเป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย ก่อนจะกลายมาเป็นประเพณีนิยมของทุกวัดที่กระทำกันในคืนวันที่ 24 ธันวาคม ของทุกปี การทำดาวประดับวัดของหมู่บ้านคาทอลิก ในอัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง ก็เหมือนกับการทำถ้ำพระกุมารและการประดับต้นคริสต์มาสในประเทศยุโรป แต่การทำดาวของวัดต่างๆ
ในอัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง ดูจะมีชีวิตชีวาและวิวัฒนาการมากกว่า เห็นได้จากการประยุกต์ให้เข้ากับวัฒนธรรม ท้องถิ่นและวิถีชีวิตของชุมชน จากการทำดาวประดับวัดธรรมดาได้พัฒนาไปเป็นการทำดาวประดับบ้านเรือน การแห่ดาวและการประกวดดาว เพื่อสืบสานความเชื่อศรัทธาอย่างมีสีสันและชีวิตชีวา อันแสดงออกถึงความชื่นชมยินดีของชุมชนตามจิตตารมณ์ของคริสต์มาส
ทำไมต้องมีการแห่ดาว                 หลายคนที่ต้องการคำตอบความกระจ่างในเรื่องนี้ ประเพณีแห่ดาวในเทศกาลคริสต์มาสนี้ มีเพียงแห่งเดียวในโลก คือ ที่มิสซังโรมันคาทอลิกท่าแร่-หนองแสง เท่านั้น การแห่ดาว เป็นกิจกรรมในเทศกาลคริสต์มาส เพื่อระลึกเหตุการณ์ที่บรรดาโหราจารย์ได้ติดตาม
ดาวประหลาดดวงหนึ่ง เพื่อไปพบสถานที่ประสูติของพระเยซูเจ้าที่แบธเลเฮม และถือกันว่าดวงดาวคือสัญลักษณ์แห่งการประสูติของพระเยซู



แห่ดาวที่ท่าแร่
                 ถ้าใครที่อยากสัมผัสรูปแบบเทศกาลคริสต์มาสที่ไม่จำเจ ไม่ซ้ำใคร ขอแนะนำให้มาที่ "หมู่บ้านท่าแร่ " ต.ท่าแร่ อ.เมือง จ.สกลนคร หมู่บ้านท่าแร่เป็นชุมชน คาทอลิคเก่าแก่อายุกว่าร้อยปี และถือว่าเป็นชุมชนชาวคริสต์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ชาวบ้านแทบทุกหลังคาเรือนนับถือศาสนาคริสต์                  เล่ากันว่า ในอดีตชาวท่าแร่ เป็นคริสตศาสนิกชน อพยพมาจากประเทศเวียดนาม ที่ได้รับการปลดปล่อยจากการเกณฑ์แรงงานทาสและมีผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผีปอบ จำนวน 40 คน มาอาศัยอยู่ในตัวเมืองสกลนคร โดยมีบาทหลวงเกโกมิชชันนารีชาวฝรั่งเศส คอยดูแล   เมื่อจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ทั้งมีปัญหากับเจ้าหน้าที่รัฐบางคน บาทหลวงเกโกจึงหาทำเลที่ตั้งหมู่บ้านใหม่ โดยจัดทำแพขนาดใหญ่ทำด้วยเรือเล็ก นำไม้ไผ่ผูกติดกัน ใช้ผ้าห่มและผืนผ้าขึงแทนใบ บรรทุกทั้งคนทั้งสัมภาระ ให้สายลมพัดพาไปในทิศที่พระเป็นเจ้าทรงประสงค์ ในที่สุดพวกเขาสามารถข้ามไปอีกฟากหนึ่งของหนองหานได้อย่างปลอดภัย และตั้งรกรากใหม่เป็นชุมชนชาวคริสต์ บ้านท่าแร่
                เทศกาลแห่ดาวคริสต์มาสที่ท่าแร่ จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 23-24 ธันวาคม ของทุกปี โดยนอกจากจะมีกิจกรรมถนนคนเดิน ไว้ให้นักช๊อปเที่ยวชมและซื้อสินค้าแล้ว ในค่ำคืนของวันที่ 23 ธันวาคม จะมีรถขบวนแห่ดาวใหญ่ จากชุมชนทั้ง 15 ชุมชนของเทศบาลตำบลท่าแร่ จากประชาชนทั่วไปที่อยู่ในท้องที่ และจากต่างจังหวัด ที่ตกแต่งรถดาวใหญ่ ประดับประดาด้วยไฟแสงสี มีซานต้าและซานตี้อยู่บนขบวนรถ คอยแจกลูกอมให้กับผู้คนและนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชม พร้อมกับเปิดเพลงคริสต์มาส แห่รอบบ้านท่าแร่ ก่อนที่จะจอดรวมกันที่ศาลามาร์ติโน ท่าแร่ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ถ่ายภาพอันสวยงามไว้เป็นที่ระลึก
                   ส่วนในค่ำคืนของวันที่ 24 ธันวาคม จะมีพิธีแห่ดาวเล็ก (ดาวมือถือ) แบบดั้งเดิม รอบวัดอาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอล ท่าแร่ ก่อนที่จะเข้าวัด ชมการแสดงละครเทวดา "การกำเนิดของพระเยซูกุมาร" และประกอบพิธีมิสซาเนื่องในวันคริสต์มาส



ประเพณีแห่ดาวที่สกลนคร

                        ประเพณีแห่ดาวที่สกลนคร เกิดขึ้นและเกี่ยวข้องโดยตรงกับ พระอัครสังฆราชลอเรนซ์ คายน์ แสนพลอ่อน อดีตผู้ปกครองอัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสงระหว่างปี ค.ศ. 1980-2004 (พ.ศ. 2523-2547) ที่มีความประสงค์จะให้หมู่บ้านคริสตชนในเขตปกครอง ได้นำดาวที่ใช้แห่ในคืนวันที่ 24 ธันวาคม เพื่อเฉลิมฉลองการบังเกิดมาของพระเยซูเจ้า
ในหมู่บ้านของตน มาร่วมแห่อีกครั้งที่สกลนครเพื่อสนับสนุนกลุ่มคริสตชนวัดพระหฤทัยฯสกลนคร ซึ่งยังมีจำนวนน้อยอยู่ การแห่ดาวที่สกลนครเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1982 (พ.ศ. 2525)
                        หลังจาก พระคุณเจ้าคายน์ แสนพลอ่อน สร้างสำนักมิสซังแห่งใหม่ที่สกลนครและย้ายมาประจำที่สำนักใหม่แล้ว โดยมอบหมายให้ชุมชนท่าแร่ หมู่บ้านคริสตชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และศูนย์กลางของอัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง เป็นผู้นำในการทำดาวและประดับประดารถบุษบก ถ้ำพระกุมารที่ใช้ในขบวนแห่ โดยเริ่มแห่จากศาลากลางจังหวัดสกลนครไปยังบริเวณโรงเรียน
เซนต์ยอแซฟสกลนคร ก่อนที่จะมีพิธีเฉลิมฉลองคริสต์มาสเหมือนเช่นที่ทำกันในแต่ละวัดในคืนวันที่ 24 ธันวาคม เป็นธรรมดาอยู่เองที่การริเริ่มทำสิ่งใหม่ที่ไม่มีใครทำมาก่อน ย่อมมีอุปสรรคปัญหาและความยากลำบากเช่นเดียวกับการแห่ดาวที่สกลนคร ในปีแรกมีดาวจากหมู่บ้านต่างๆ มาร่วมขบวนแห่จำนวนไม่มาก และไม่ได้รับการยอมรับจากชาวสกลนครเท่าใดนัก รวมถึงผู้ร่วมงานบางคนที่มองว่าเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ แต่พระคุณเจ้าคายน์ แสนพลอ่อน ยังคงยืนหยัดที่จะจัดให้มีประเพณีแห่ดาวนี้เรื่อยมา และพยายามปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นในแต่ละปี ต่อมาได้จัดให้มีการประกวดดาวทำให้มีจำนวนดาวจากหมู่บ้านต่างๆ มาร่วมแข่งขันและขบวนแห่เพิ่มมากขึ้น หลังจากได้จัดแห่ดาวที่สกลนคร ผ่านไปหลายปีชาวสกลนครเริ่มยอมรับและกล่าวขวัญถึง บางปีไม่ได้จัดที่สกลนคร เช่นในปี ค.ศ. 1999 (พ.ศ. 2543) ย้ายไปจัดที่หมู่บ้านท่าแร่เพื่อสมโภชการเปิดปี ปีติมหาการุญ คริสตศักราช 2000เริ่มมีเสียงเรียกร้องให้จัดที่สกลนครประจำทุกปี
                        จนกระทั่งเมื่อปี ค.ศ. 2003 (พ.ศ. 2546) นายปรานชัย บวรรัตนปราน ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ขณะนั้น ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้บรรจุประเพณีแห่ดาวให้เป็นงานส่งเสริมการท่องเที่ยวงานหนึ่งของจังหวัด เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว ให้มาเที่ยวชมและร่วมงานคริสต์มาสที่สกลนคร


พระธาตุเชิงชุม






ที่ตั้งวัดพระธาตุเชิงชุมตั้งอยู่ริมหนองหารในเขต เทศบาลสกลนคร มีพื้นที่ 18 ไร่ 1 งาน 27 ตารางวา อยู่ปลายสุดของถนนเจริญเมือง มี อาณาเขตดังนี้ ทิศเหนือและทิศตะวันออก ติดกับหนองหารหลวงและบ้านเรือนชาวคุ้มทิศ ตะวันตก ติดกับถนนเรืองสวัสดิ์ ทิศใต้ ติดกับ ถนนเจริญเมือง
 ประวัติความเป็นมา
   ตามอุรังค นิทาน กล่าวว่า วัดพระธาตุเชิงชุม เป็นสถานที่ พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาโปรดชาวเมืองหนองหาร หลวง และกล่าวว่าบริเวณนี้เป็นที่บรรจุพระบาท ของพระพุทธเจ้า 4 พระองค์ คือ พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า กุกสันโธ โกนาคมโน กัส สะโป และโคตมะ ซึ่งก่อนจะเสด็จดับขันธ์ ปรินิพพาน ต้องไปประทับรอยพระบาทไว้ที่นั่นทุก พระองค์ นับว่าพระพุทธเจ้าพระนามว่า ศรี อาริยเมตตรัย องค์ที่ 5 ในภัทกัปป์นี้ ก็จะประทับรอยพระบาทไว้เช่นกัน ด้วยเห ตะนี้จึงถือกันว่าวัดพระธาตุเชิงชุม จึงเป็นวัดแรกที่พระยาสุวรรณภิงคาระ พระะ นางนารายณ์เจงเวง และเจ้าคำแดง อนุชาพระยา สิวรรณภิงคาร มาสร้างวัดขึ้นเมื่อย้ายราชธานี จากบริเวณซ่งน้ำพุและท่านางอายฝั่งตรงข้าม หนองหาร เมื่อครั้งหนองหารล่มเพราะการกระทำของ พญานาค
   อย่างไรก็ตาม จากหลักฐานเสมา หินที่พบอยู่รอบ ๆ วัดพระธาตุเชิงชุม และหลักฐานแท่านบูชารูปเคารพ ตลอดยนศิลาจารึกตัว อักษรขอมในพุทธศตวรรษที่ 15 - 16 ซึ่งอยู่ ติดผนังทางเข้าภายในอุโมงค์พระธาตุเชิงชุม (ชั้นใน) ซึ่งก่อเป็นพระธานุหรือ สถูปขนาดเล็ก หลักฐานเหล่านี้บ่งบอกว่า บริเวณ วัดพระธาตุเชิงชุมได้มีชุมชนเกิดขึ้น ต่อเนื่องกันมา โดยเฉพาะศิลาจารึกที่กรอบประตู ทางเข้าปรางค์ขอมหรือสถูป ซึ่งมีความกว้าง 49 ซ.ม. ยาว 52 ซ.ม. เขียน เป็นตัวอักษรขอมโบราณ เนื้อความกล่าวถึงบุคคลจำนวน หนึ่ง ได้พากันไปชี้แจงแก่โขลญพล หัว หน้าหมู่บ้าน พระนุรพิเนาตามคำแนะนำ ของกำแสดงว่าที่ดินที่ราษฎรหมู่บ้านพะ นุรนิเนามอบให้โบลูญพลนี้มี 2 ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นที่ดินในหลักเขต ให้ขึ้น กับหัวหน้าหมู่บ้านพะนุรพิเนา นอกจาก เรื่องการมอบที่ดินแล้ว ข้อความตอนท้ายของ จารึกได้กล่าวถึงการกัลปนาของโขลญพลที่ได้ อุทิศตน สิ่งของที่นา แด่เทวสถานและสงกรานต์
 กล่าวโดยสรุปในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15 - 16 บริเวณวัดพระธาตุเชิงชุมคงถูกปกครอง โดยคนกลุ่มขอมที่พากันสร้างวัด โดยอุทิศ ที่ดิน บริวาร ข้าทาส ให้ดูแลวัด หรือศา สนสถานแห่งนี้ ซึ่งอาจเป็นศาสนสถานตาม คติพราหมณ์หรือพุทธมหายานก็ได้
 ความสำคัญต่อชุมชน
   หลักฐานการตั้งชุมชนบริเวณวัดพระ ธาตุเชิงชุมในสมัยรัตนโกสินทร์ค่อนข้างเด่น ชัด โดยเฉพาะพงศาวดาร ฉบับพระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ) กล่าวว่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดผ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ พร้อมไพร่พลตัวเลก มาตั้งเมืองรักษาพระธาตุเชิงชุม เมื่อมีผู้ คนมากขึ้นก็โปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านธาตุ เชิงชุม ขึ้นเป็นเมืองสกลทวาปี เมื่อปี พ .ศ.2329 อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดศึก เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เป็นกบฏใน พ.ศ .2370 เมืองสกลนครต้องโทษเป็นกบฎขัดขืนอาญา ศึก เจ้าเมืองฝักใฝ่กับเจ้าอนุวงค์ไม่ได้เตรียม กำลังไพร่พล กระสุนดินดำ เว้ให้ทัพหลวงตาม คำสั่ง พระธานีเจ้าเมืองสกลทวาปีถูกประหาร ชีวิต ญาติพี่น้องเจ้าเมืองถูกกวาดต้อนไปอยู่ เมืองกบิลประจันตคาม จึงทำให้บริเวณวัดพระธาตุ เชิงชุม ซึ่งเป็นศูนย์กลางของเมืองถูกทิ้งร้าง ชั่วคราวปล่อยให้หมู่บ้านรอบ ๆ 10 หมู่บ้าน เป็นข้าพระธาตุดูแลวัดแห่งนี้
   หลังการกบฎของเจ้าอนุวงศ์ ราชวงศ์ (คำ) แห่งเมือง มหาชัยกองแก้วได้เข้ามาพึ่งบราโพธิสมภาร โปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็นพระประเทศธานี(คำ) เจ้าเมืองและให้ราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์มาดำรงตำแหน่ง อุปฮาด ให้ท้าวอินน้องชายราชวงศ์(คำ)เป็น ราชวงศ์ ให้ท้าวบุตรเมืองกาฬสินธุ์เป็นราชวงศ์ มีการสร้าง กุฏิ ศาลาการเปรียญตั้งแต่นั้นมาวัดพระธาตุเชิงชุมก็เจริญขึ้นตามลำดับ จึงถือว่าวัดพระธาตุเชิงชุมเป็นศูนย์กลางของเมืองสกลนคร มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
 ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
   ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของพระธาตุเชิงชุม วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร มีโบราณสถาน โบราณวัตถุสำคัญ ๆ นับแต่องค์พระธาตุเชิงชุม หลวงพ่อพระ พุทธองค์แสน พระอุโบสถ พระวิหาร หอจำศีล (สิมหลังเล็ก) 90 ไตร ฯลฯ ในที่นี้ขอ อธิบายเฉพาะตัวสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุเท่านั้น
   พระธาตุเชิงชุมเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนสี่ เหลี่ยม สูง 24 เมตรเศษ มีซุ้มประตู 4 ด้าน คือ ด้านตะวันตก ด้านเหนือ ด้านใต้ ลักษณะประตูเป็นประตู ปิด - เปิด ได้แต่เปิดไม่ได้มากเพราะติด องค์สถูปภายใน ซึ่งเจดีย์องค์ใหม่สร้างครอบไว้ ส่วนด้านตะวันออกเป็นประตูทางเข้าสถูปภายใน วิหาร
   ทรวดทรงของพระธาตุเชิงชุม เป็นทรงเจดีย์ สี่เหลี่ยมลดชั้นจากฐานขึ้นไปสู่ยอดเป็น ช่วง ๆ 3 ช่วง จึงถึงเต้าระฆัง และรับด้วย ดวงปลีที่ทำเป็นทรงบัวเหลี่ยมปักยอดฉัตร ทองคำ ลักษณะการลดชั้นเจดีย์รับด้วยดวงปลี ทรงบัวเหลี่ยม ทำให้องค์พระธาตุเชิงชุมมี ความสวยงามกระทัดรัดไม่เทอะทะ เช่น เจดีย์ทรง ฐานกว้างเตี้ย นอกจากนี้สถาปนิกยังสร้างให้ซุ้ม ประตู 3 ด้าน เพื่อให้ประชาชนเห็นองค์พระธาตุ (สถูป) เดิมภายใน ต่อมาได้มีการ นำพระพุทธรูปปางห้ามญาติ อิทธิพลล้านช้าง มาติดไว้ในซุ้มทั้ง 3 ด้าน นับว่าเป็น ส่วนประกอบองค์สถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ และเป็นประติมากรรม แบบล้านช้างที่แท้จริง
   องค์ประกอบสำคัญขององค์พระธาตุเชิงชุมคือ ซุ้มประตูโขงทรงหอแก้วดอ เป็นลักษณะหอแก้วเฟื่อง คือ มีขนาดพองาม และ ในพื้นที่ครึ่งหนึ่งของปริมณฑล ทำให้พื้นที่ บริเวณฐานเจดีย์องค์พระธาตุสวยงาม ในส่วนราย ละเอียดของซุ้มประตูนั้นเป็นงานสถาปัตยกรรมฝีมือช่าง ชั้นครู โดยเฉพาะลายของก้นหอยซึ่งทำขนาด ใหญ่น้อยเรียงกันไป เพียงแต่มีปูนขาวทาบ ทับนนหนาปิดบังความคมชัดของลายก้นหอย อันวิจิตรบรรจง

ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง จังหวัดสกลนคร




ประวัติ / ความเป็นมา
          การแห่ปราสาทผึ้ง เป็นประเพณีสำคัญงานหนึ่งในฮีตเดือนสิบเอ็ด การแห่ปราสาทผึ้งนั้นเป็นการถวายแด่องค์พระธาตุเชิงชุม สำหรับตำนานของการทำปราสาทผึ้ง มาจากคติที่เชื่อว่าเป็นการทำบุญเพื่อให้ได้ไปเกิดในภพหน้า เช่น การไปเกิดในสวรรค์ก็จะมีปราสาทอันสวยงามแวดล้อมด้วยนางฟ้าเป็นบริวาร ถ้าเกิดใหม่ในโลกมนุษย์จะมีแต่ความมั่งมีศรีสุขแต่ปัจจุบันคนอีสานถือว่าประเพณีนี้เป็นการร่วมงานบุญบนความรื่นเริงอันยิ่งใหญ่ในรอบปี เนื่องจากเป็นช่วงที่ว่างจากงาน
และตามตำนานอีกเรื่องหนึ่งมีว่า ในสมัยพุทธกาลเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาเป็นปีที่ 7 บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ประทับที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ทรงแสดงอภิธรรมปฏิกรณ์แก่พุทธมารดา เป็นการตอบแทนพระคุณจนกระทั่งบรรลุถึงโสดาบัน ครั้นถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งเป็นวัน มหาปวารณาออกพรรษา พระพุทธเจ้ากำหนดเสด็จสู่เมืองมนุษย์ พระอินทร์จึงเนรมิตบันได 3 ชนิด คือ….
บันไดทองคำ     อยู่เบื้องขวา    สำหรับทวยเทพเทวดาลง
บันไดเงิน          อยู่เบื้องซ้าย    สำหรับพระพรหมลง
บันไดแก้วมณี   อยู่ตรงกลาง    เพื่อให้พระพุทธองค์เสด็จ
          เชิงบังไดทั้ง 3 นี้ ตั้งอยู่ที่ประตูเมืองสังกัสสนครในโลกมนุษย์ หัวบันไดอยู่ที่เขาสิเนคุราช บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ก่อนเสด็จลงพระพุทธเจ้าประทับยืนบนบอดเขาสิเนรุราช ทำ โลกนิวรณ์ปาฏิหาริย์โดยทรงแลดูเบื้องบนปรากฏมีเนินเป็นอันเดียวกันถึงพรหมโลก ทรงแลดูข้างล่างก็ปรากฏมีเนินเป็นอันเดียวกันถึงอเวจีนคร ทรงแลดูรอบทิศจักรวาลหลายแสน ก็ปรากฏเนินอันเดียวกัน (สวรรค์ มนุษย์ และนคร ต่างมองเห็นกัน) ซึ่งเรียกวันนี้ว่า วันพระเจ้าเปิดโลก
ครั้นแล้วพระพุทธองค์เสด็จลงทางบันไดแก้วมณี ท้าวมหาพรหมกั้นเศวตฉัตร บรรดาเทวดาลงบันไดทองคำทางช่องขวา มหาพรหมลงทางบันไดเงินเบื้องซ้าย มีมาตุลีเทพบุตรถือดอกไม้ของหอมติดตาม ครั้นเสด็จถึงประตูเมืองสังกัสสนครทรงประทับพระบาทเบื้องขวาลงก่อน นาค มนุษย์ และนรก ต่างชื่นชมปลื้มปิติในพระพุทธบารมี เกิดเลื่อมใสในบุญกุศลจนเกิดจินตนาการ เห็นปราสาทสวยงามใคร่จะไปอยู่ จึงรู้ชัดว่าการที่จะได้ไปอยู่ปราสาทอันสวยงามนั้นต้องสร้างบุญกุศล ประพฤติปฏิบัติอยู่ในหลักศีลธรรมอันดี ทำบุญตักบาตร สร้างปราสาทกองบุญนั้นในเมืองมนุษย์เสียก่อนจึงจะไปได้ จากนั้นเป็นต้นมาผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงพากันคิดสร้างสรรค์ทำบุญปราสาทให้มีรูปร่างเหมือนวิมานบนสวรรค์ มีลวดลายวิจิตรสวยงามตามยุคตามสมัยสืบต่อมา บางแห่งก็ถือว่าสร้างปราสาทผึ้งสำหรับรับเสด็จพระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จมายังโลกมนุษย์ไปสู่ที่ประทับ
เหตุที่มีการนำเอาขี้ผึ้งมาทำเป็นปราสาทนั้น สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ในสมัยพุทธกาลเช่นเดียวกันซึ่งในหนังสือธรรมบทภาค 1 กล่าวว่าเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาที่ดงไม้สาละใหญ่ ที่ป่ารักขิตวัน ใกล้บ้านปาลิไลยก์ในพรรษาที่ 9 โดยช้างปาลิไลยก์กับลิงเป็นผู้อุปัฏฐากไม่มีมนุษย์อยู่เลยตลอด 3 เดือน ช้างจัดน้ำและผลไม้มาถวาย ส่วนลิงหารวงผึ้งมาถวาย เมื่อพระองค์ทรงรับแล้วเสวยลิงเห็นก็ดีใจมากไปจับกิ่งไม้เขย่าด้วยความดีใจ บังเอิญกิ่งไม้หักลิงนั้นตกลงมาถูกตอเสียบอกตาย และได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรบนปราสาทวิมานสูง 30 โยชน์ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
          ครั้นถึงวันมหาปวารณาออกพรรษา พระพุทธเจ้าตรัสลาช้างแล้วเสด็จเข้าสู่เมืองโกสัมพี ต่อไปช้างคิดถึงพระพุทธเจ้ามากจนหัวใจแตกสลาย ไปเกิดบนปราสาทวิมานสูง 30 โยชน์ พระพุทธเจ้าทรงนึกถึงคุณความดีของช้างและลิง จึงทรงนำเอารวงผึ้งมาทำเป็นดอกประดับในโครงปราสาทตามจินตนาการเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ช้างและลิง
ในกาลต่อมา ชาวพุทธจึงได้ถือเป็นแนวทางจัดสร้างปราสาทผึ้ง เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและสร้างกุศลสืบมา โดยถือเอาวันออกพรรษาเป็นวันประเพณีถวายปราสาทผึ้ง ปัจจุบันประเพณีถวายปราสาทผึ้งยังมีอยู่ในภาคอีสานหลายจังหวัด แต่จังหวัดที่มีการถวายปราสาทผึ้ง โดยจัดขบวนแห่อย่างยิ่งใหญ่ ได้แก่ จังหวัดสกลนคร การแห่ปราสาทผึ้งของชาวสกลนครนี้กล่าวกันว่ามีมาตั้งแต่ครั้งสมัย พระเจ้าสุวรรณภิงคารโปรดให้ข้าราชบริพารจัดทำ ต้นเผิ่ง” (ต้นผึ้ง) ขึ้นในวันออกพรรษาแล้วแห่แหนไปยังวัดพระธาตุเชิงชุมเป็นพุทธบูชา ชาวสกลนครจึงยังคงสืบทอดปฏิบัติมาจนทุกวันนี้ ในงานนี้นอกจากจะมีการแห่ปราสาทผึ้งแล้วยังมีการแข่งเรือด้วย
ส่วนความเชื่อในการสร้างปราสาทผึ้งจากเรื่องไตรภูมิในพุทธศาสนา ซึ่งเป็นคำสอนที่มีปรากฏในคัมภีร์พุทธศาสนาที่ว่าด้วยการที่มนุษย์ต้องเวียนว่ายตายเกิดในโลกภูมิต่างๆ ที่มีวิมานปราสาทเป็นเรือนที่อยู่อาศัยอย่างสะดวกสบาย และยังมีกล่าวในคัมภีร์มาเลยยเทวัตเถรวัตถุที่ได้กล่าวถึงพระมาลัยอรหันต์ ซึ่งเป็นพุทธสาวกองค์หนึ่ง ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เคยไปเทศนาโปรดสัตว์ในนรกภูมิ และได้เสด็จขึ้นไปบนสวรรค์ เพื่อไหว้องค์พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรยที่จะเสด็จมาตรัสรู้เป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตกาล หลังจากนั้นพระมาลัยอรหันต์ได้เทศนาโปรดแก่พุทธศาสนิกชน เพื่อให้ทราบถึงวิธีการสร้างบุญกุศล เพื่อที่จะได้ไปเกิดบนสวรรค์ รวมทั้งการสร้างอาคารศาสนสถานถวายเป็นพุทธบูชานั้นเป็นหนทางหนึ่งที่เป็นอานิสงส์นำพาให้ได้ไปเกิดบนสวรรค์ มีวิมานเป็นที่อยู่อาศัย และมีเหล่านางฟ้าเป็นบริวาร
ความเชื่อเรื่องภูตผีวิญญาณ เป็นความเชื่อพื้นบ้านที่ทำให้ชาวอีสาน ถือเป็นปรัชญาคติที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างปราสาทผึ้ง คือ ความเชื่อที่ว่าคนที่ตายไปแล้วดวงวิญญาณก็ยังต้องการสิ่งต่างๆ เช่นเดียวกับเมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่เป็นคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการต้องการที่อยู่อาศัย ด้วยเหตุดังกล่าวทำให้มีการประกอบพิธีเซ่นสรวงดวงวิญญาณ ตลอดจนการสร้างเรือนจำลองในลักษณะของศาลหรือหอผี เพื่ออุทิศส่วนกุศล จากการสร้างปราสาทผึ้งแก่ดวงวิญญาณบรรพบุรุษ หรือจ้ากรรมนายเวรผู้ล่วงลับ
          นอกจากนี้ยังมีกล่าวไว้ในตำนานเรื่องหนองหาน (สกลนคร)ว่า ในสมัยขอมเรืองอำนาจและครองเมืองหนองหาน ในแผ่นดินพระเจ้าสุวรรณภิงคาร ได้โปรดให้ข้าราชบริพารทำต้นผึ้งหรือปราสาทผึ้งในวันออกพรรษา เพื่อแห่คบงันที่วัดเชิงชุม (วัดพระธาตุเชิงชุมวรมหาวิหาร) จากนั้นเมืองหนองหานได้จัดปราสาทผึ้งต่อกันมาทุกปี
ส่วนในสมัยรัตนโกสินทร์ มีพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่องเที่ยวที่ต่างๆ ภาค 4 ว่าด้วยมณฑลนครราชสีมา มณฑลอุดร และมณฑลร้อยเอ็ด เมื่อ ร.ศ.125 (2449) มีความตอนหนึ่งกล่าวถึงการแห่ปราสาทผึ้งรอบองค์พระธาตุพนม เมืองนครพนมดังนี้
เวลาบ่าย 4 โมง ราษฏร์แห่ปราสาทผึ้งและบ้องไฟ (บั้งไฟ) เป็นกระบวนใหญ่เข้าประตูชาลามหาเศรษฐี ด้านตะวันตก แห่ประทักษิณองค์พระธาตุสามรอบ กระบวนแห่นั้นคือ ผู้ชายและเด็กเดินข้างหน้าหมู่หนึ่ง แล้วมีพิณพาทย์ต่อไปถึงบุษบกมีเทียนขี้ผึ้งใหญ่ 4 เล่มในบุษบก แล้วมีรถบ้องไฟ (บั้งไฟ) ต่อมามีปราสาทผึ้ง คือ แต่งหยวกกล้วยเป็นรูปปราสาทแล้วมีดอกไม้ ทำขี้ผึ้งเป็นเครื่องประดับ มีพิณพาทย์ ฆ้องกลอง แวดล้อมแห่มา และมีชายหญิงเดินตามเป็นตอนๆ กันหลายหมู่ และมีกระจาดประดับประดา อย่างกระจาดผ้าป่าห้อยด้วยไส้เทียน และไหมเข็ด เมื่อกระบวนแห่ครบสามรอบแล้ว ได้นำปราสาทผึ้งไปตั้งถวายพระมหาธาตุ ราษฎร์ก็นั่งประชุมกันเป็นหมู่ๆ ในลานพระมหาธาตุคอยข้าพเจ้าจุดเทียนนมัสการ แล้วรับศีลด้วยกัน พระสงฆ์มีพระครูวิโรจน์รัตโนบลเป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์ เวลาค่ำมีการเดินเทียนและจุดบ้องไฟ ดอกไม้พุ่ม และมีเทศน์กัณฑ์หนึ่ง”  จากพระนิพนธ์ดังกล่าวเห็นได้ว่า ประเพณีแห่ปราสาทผึ้งได้มีการถือปฏิบัติมาช้านานแล้ว และมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนาด้วย

  กำหนดงาน
          จัดตั้งแต่ วันขึ้น 10-14 ค่ำ ส่วนวันแห่คือวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ณ วัดพระธาตุเชิงชุมวรมหาวิหาร อำเภอเมือง   สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่  www.tat.or.th/festival

 กิจกรรม / พิธี
          รูปทรงของปราสาทผึ้ง สามารถแบ่งตามลักษณะได้ 4 แบบ คือ ปราสาทผึ้งทรงพระธาตุ ทรงหอผี ทรงบุษบก และทรงจตุรมุข
1. ปราสาทผึ้งทรงพระธาตุ ลักษณะโดยรวมคลายกับพระสถูปเจดีย์ หรือพระธาตุที่ปรากฏในบริเวณภาคอีสาน และประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คือ เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม หรือบางทีเรียกว่า เจดีย์ทรงดอกบัวเหลี่ยม เช่นพระธาตุพนม พระธาตุเชิงชุม พระธาตุศรีสองรัก พระธาตุบังพวน เป็นต้น ปราสาทผึ้งรูปทรงนี้จากหลักฐานภาพถ่ายจากกองจดหมายเหตุแห่งชาติ สันนิษฐานว่า น่าจะมีการกระทำอยู่ในช่วง พ.ศ.2449 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
2. ปราสาทผึ้งทรงหอผี เป็นปราสาทผึ้งที่สร้างขึ้นเลียนแบบอาคารเรือนที่อยู่อาศัยแบบพื้นเมืองของชาวอีสาน แต่สร้างให้มีขนาดเล็กเป็นลักษณะของเรือนจำลอง ปราสาทผึ้งแบบทรงหอผีมีลักษณะเช่นเดียวกับศาลพระภูมิ ศาลมเหศักดิ์ หรือศาลปู่ตา ตามหมู่บ้านต่างๆ ในชนบท ซึ่งศาลต่างๆ เหล่านั้นมีลักษณะโดยรวมจำลองรูปแบบมาจากอาคารเรือนที่อยู่อาศัย การสร้างปราสาทผึ้งทรงหอผีได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เมื่อประมาณปี พ.ศ.2473 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน
3.  ปราสาทผึ้งทรงบุษบก เป็นปราสาทที่สร้างขึ้นจำลองจากบุษบก บุษบกเป็นเรือนเครื่องยอดขนาดเล็ก หลังคาทรงมณฑป ตัวเรือนโปร่ง มีฐานทึบ และเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ลักษณะคล้ายกับบุษบกธรรมาสน์ ชาวอีสานเรียกว่า หอธรรมาสน์ หรือ ธรรมาสน์เทศน์
4.  ปราสาทผึ้งทรงจตุรมุข เป็นปราสาทผึ้งที่จำลองแบบมาจากปราสาทราชมณเฑียรในพระบรมมหาราชวัง เป็นอาคารจำลองขนาดเล็กทรงจตุรมุข มีแผนผังเป็นรูปกากบาท มีสันหลังคาจั่ว ชั้นบนอยู่ในระดับเดียวกัน และออกมุขเสมอกันทั้งสี่ด้าน ที่หลังคามีจั่ว หรือหน้าบันประจำมุขด้านละจั่วหรือด้านละหนึ่งหน้าบัน ด้วยเหตุที่มีการออกมุขทั้งสี่ด้าน และประกอบด้วยหน้าบันสี่ด้าน จึงเรียกว่าทรงจตุรมุข ซึ่งเป็นอาคารที่มีเรือนยอดเป็นชั้นสูง เช่นเดียวกับอาคารประเภทบุษบก และมีการออกมุขทั้งสี่ด้านที่หลังคาทรงจั่ว
งานเริ่มจากวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 เรียกว่า วันโฮม หรือวันรวม เป็นการรวบรวมปราสาทผึ้งจากคุ้มวัดต่างๆ ที่บริเวณวัด แต่ละคุ้มจะประจำอยู่ซุ้มของตัวเองรอบๆ กำแพงวัด และพอถึงวันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 มีการทำบุญตักบาตร เสร็จแล้วก็จะจัดขบวนแห่ปราสาทผึ้ง ในแต่ละขบวนแห่ด้วยเกวียน แต่ใช้คนลากแทนวัว แต่ละปราสาทผึ้งมีนางฟ้าหรือเทพีนั่งอยู่ตอนหน้าของเกวียน ตรงกลางเป็นปราสาทผึ้ง ขบวนแห่มีพิณ กลอง ฆ้อง ตามด้วยขบวนคนหนุ่มคนสาว และคนเฒ่าคนแก่ ถือ ธูปเทียน ประนมมือ แห่ครบ 3 รอบ ก็ถวายแก่ทางวัด
ปัจจุบันการทำปราสาทผึ้งและขบวนแห่เปลี่ยนแปลงไปมาก รูปทรงของปราสาทผึ้งและการประดับประดาวิจิตรพิสดาร มีการออกแบบลวดลายต่างๆ ไม่เหมือนในอดีต ขบวนแห่ที่เคยใช้เกวียนก็เปลี่ยนมาใช้รถยนต์แทน และเปลี่ยนสถานที่รวมขบวนจากบริเวณวัดเป็นสนาม ขบวนแห่ยาวเป็นกิโลเมตร มีสิ่งใหม่ๆ เพิ่มในขบวนแห่ปราสาทผึ้ง คือ การแสดงเกี่ยวกับประเพณีโบราณของชาวอีสาน เช่น รำมวยโบราณ ฟ้อนผู้ไท โส้ทั่งบั้ง บุญข้าวสาก บุญข้าวประดับดิน การตำข้าว การปรุงยาสมัยโบราณ การแข่งเรือ และการแสดงความเชื่อทางไสยศาสตร์ เช่น การไล่ผีปอบ การปลุกพระ ตลอดถึงการแสดงนรก สวรรค์
ประเพณีแห่ปราสาทผึ้งที่ถือปฏิบัติในวันออกพรรษามีอยู่สี่แห่ง ได้แก่ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย อำเภอเมือง  จังหวัดนครพนมอำเภอเมือง  จังหวัดหนองคายและอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร